ติดต่อได้ที่ 0874727493 นะครับ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค


ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  
   พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ  
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ  หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)
พระราชบัญญัติ หมายถึง  บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
พระราชกำหนด   หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
พระราชกฤษฎีกา หมายถึง บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ  หมายถึง  กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ.2496
ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พศ.2542
ร่างเทศบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกเทศมนตรี
ผู้พิจารณา ได้แก่สภาเทศบาล
ผู้อนุมัติ ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ตรา ได้แก่ นายกเทศมนตรี


2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ควรมีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมีระเบียบ ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและอยู่อย่างสันติสุข ซึ่งกฎเกณฑ์หรือกติกาของสังคมดังกล่าวได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ มีกติกา ระเบียบวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละสังคมเป็นเครื่องยึดถือปฏิบัติ

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ไม่ควรแก้ไขมาตรา 112 เพราะ ประเทศของเรามีการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในทุกๆระบอบการปกครอง และจะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่ของเราท่านเป็นคนที่ขยันทำงานทุกอย่างเพื่อประชาชนให้อยู่ดี กินดี มีความสุข

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนข้าพเจ้าเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้ว่า เส้นเขตแดนที่กำลังทะเลาะกัน มันถูกขีดขึ้นโดยคนอื่น มันมาทีหลัง มันเป็นจินตนาการและสิ่งสร้างในฝันที่ดูเหมือนจะสวยงาม ดังที่ เกษียร เตชะพีระ เคยกล่าวไว้ว่า ชาตินิยมจะมองเห็นก็ต่อเมื่อหลับตาลง เพราะแท้ที่จริงแล้วเส้นเขตแดน มันพาดผ่านทอดทับหมู่บ้าน ผู้คน กลุ่มชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆมานานแล้ว มันแบ่งแยกเราเขาที่พูดภาษาเดียวกัน เคยเป็นครอบครัวเดียวกัน เคยไปมาหาสู่ซื้อขายสินค้า พบปะสังสรรค์ มันอาจมีความสำคัญกับรัฐชาติสมัยใหม่ แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากมายกับชีวิตผู้คนที่เขาอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ดังนั้น อย่าให้สิ่งที่มันเป็นเพียงจินตนาการที่มีประโยชน์ไม่มากมาทำลายชีวิตผู้คน การทำมาหากิน การได้ใช้ชีวิตปกติ ครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลย

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วยว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา จะเป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ้น

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้น พื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภายภายใน    การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา   ผู้บริหาสถานศึกษา   บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
ตอบ      การศึกษาคือ เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง 
               การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการศึกษาที่มุ่งให้ตอบสนองความต้องการทางการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนในระดับต้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การเรียนรู้ขั้นต่อไป
               การศึกษาตลอดชีวิต คือการจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
               การศึกษาในระบบ คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                การศึกษานอกระบบ คือ การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ
                การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
                 สถานศึกษา คือ หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
                 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 มาตรฐานการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ให้นิยามมาตรฐานการศึกษาว่า เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและกระบวนการตรวจสอบ หรือ การประเมินว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร 
                 การประกันคุณภาพภายในคือ การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรม ตามปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการทางการศึกษา ว่าการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
                 การประกันคุณภาพภายนอก คือ การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ) บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
                ผู้สอน คือ ผู้บอกวิชาความรู้ให้ผู้แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่ว
                ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
                คณาจารย์ คือ บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
                ผู้บริหารการศึกษา คือ บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
              บุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ


7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ  ความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา  จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม 
หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็น
ต้องขอขยายความดังนี้
          1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
            หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก
ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532  คำประกาศ
จอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education"
ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง
ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษา
เชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
          2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
         3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ
อีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่า 
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3.นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูพ.ศ. 2547 
         2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
         3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
         4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ  ได้รู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ  และได้รู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ในอนาคตอันไกล และการที่อาจารย์ใช้Weblogมาสอนให้แก่นักศึกษามีความเหมาะสมมากเพราะจะทำให้นักศึกษาสามารถใช้สื่อที่อาจารย์สอนนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ และถ้าจะเกรดในรายวิชานี้ผมให้A และผมคิดว่าผมจะได้Aในรายวิชากฎหมายการศึกษาของอาจารย์                                                 


วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 9



ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร  ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น  เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)



1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2 547

      หมายถึง การบริจากทรัพย์สิน เงิน หรือแรงงาน ไม่ว่ารายเดียวหรือ หลายรายให้กับทางราชการ หรือให้กับสถานศึกษาต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงศึษาธิการ โดยให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศ เกียติคุณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับผู้บริจากตั้งแต่สิบล้านขึ้นไป
หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่ได้รับประโยชน์ สำหรับการบริจากตั้งแต่ห้าล้านแต่ไม่ถึงสิบล้านบาท
ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น สำหรับบริจากไม่ถึงหาล้าน

2.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และะการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548

ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์   ฉายแสง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

การประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวสาร

การประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของส่วนราชการให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวสาร

3.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. 2550โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 3 มกราคม พ.. 2550

ผู้ลงนามในระเบียบ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

                 การจัดตั้งสถานศึกษา
ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของ สถานศึกษาอื่น
ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคน
ถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น


4.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2548
ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

ผู้กำกับการสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบแผนการสอบ โดยต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบให้แก่ผู้เข้าสอบ ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ ต้องแต่งการให้สุภาพเรียบร้อยตามส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนด หากผู้กำกับการสอบทำการใด ประมาท เลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง

5.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548

ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การลงโทษนักเรียนและนักศึกษา โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
        “การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อการอบรมสั่งสอน

       โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ดังนี้

                      1.ว่ากล่าวตักเตือน
                       2.ทำทัณฑ์บน
                       3. ตัดคะแนนความประพฤติ
                       4.ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษ

ด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย

การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี

ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา

6.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของ สถานศึกษา พ.ศ.2547

ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหรือเป็นอย่างอื่นด้วย
วันทำการ” หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
วันหยุดราชการ” หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี

7.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547

ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
สถานศึกษาที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดไว้ มีสาระสำคัญดังนี้
1. การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ใช้คำว่า “โรงเรียน” เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ หรือสถานที่อื่นใด แล้วแต่กรณี

2. การกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ

3. ไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้ และไม่เป็นชื่อพ้อง หรือ มุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของราชทินนามหรือทายาท

4. ชื่อสถานศึกษาต้องใช้ภาษาไทย

5. ชื่อสถานศึกษาที่กำหนด ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น

6. ชื่อสถานศึกษาไม่ควรมีความยาวเกินความจำเป็น

7. หากสถานศึกษาใด มีความประสงค์ที่จะกำหนดชื่อสถานศึกษาโดยใช้ชื่อผู้บริจาคเป็นชื่อสถานศึกษาหรือกรณีอื่น ๆ ต่อท้ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

8.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549

ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 กำหนดว่า “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมกับการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคาร ควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

2. การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

 3. การที่มีผู้จัดซื้อให้ หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

ถ้าผู้บริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์ร้อยละห้าสิบของราคาอุปกรณ์ขึ้นไป ประสงค์จะจารึกชื่อและผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์เห็นชอบด้วย ให้จารึกชื่อผู้บริจาคนั้นไว้ที่อุปกรณ์

4. เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลผู้มีคุณความดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่น แม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควร และประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคาร ให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่ต้นสังกัดมอบหมาย


9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547

ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
ในกรณีที่ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ

 (ก) สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด

 (ข) ถ้าหากเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่น ๆ ที่หน่วยราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน

 (ค) ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้นวัน เดือน ปีเกิด ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป

10.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการ ปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษา พ.ศ.2546

ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นการศึกษา พ.ศ.2546
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2547

ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา

ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548

ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2548

ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้

ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  15  วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู  นักเรียน (/คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอน ในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน  ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา 1 ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักร  หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุม   ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย  ครู 1 : นักเรียนไม่เกิน 30 คน      ถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิง ส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน  อนุญาต ไป ไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ  เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง


12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2547
ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2547

ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา
ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์

13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548

14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง ราชการ พ.ศ.2550

15.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550

16.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550

17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2548

18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551

19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548

20.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549

21.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550

22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549   

23.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538

24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547

25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547

26.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ.2547

27.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ ((ฉบับที่2 พ.ศ.2548

28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546

29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551

30.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหาร จัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลใน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549

31.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551


วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 8



ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.
2546

เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้


1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด และมีผลบังคับใช้เมือใด

ตอบ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา


2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร

ตอบ นายกรัฐมนตรี


3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร

ตอบ เพราะการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อห้ารบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน


4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตอบ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีทั้งหมด 9 หมวด  53 มาตรา

หมวดที่ 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  มาตรา 6
หมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน มาตรา 7 – มาตรา 8
หมวดที่ 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  มาตรา 9
หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

มาตรา 20 -  มาตรา 26
หมวดที่ 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มาตรา 27  -  มาตรา 32
หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ มาตรา 33 - มาตรา 36
หมวดที่ 7การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน มาตรา 37 - มาตรา 44
หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ มาตรา 45 - มาตรา 49
หมวดที่ 9 บทเบ็ตเตล็ด  มาตรา 50  - มาตรา 53

5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง

ตอบ 1. เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน

         2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

          3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

          4.ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

          5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์

          6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

          7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ


6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

ตอบ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานงบประมาณ


7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน

ตอบ 90 วัน


8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี

ตอบ  4 ปี


9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร

ตอบ  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สำนักงานงบประมาณ


10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย

ตอบ ประเมินความคุ้มค่า  ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึ่งได้