ติดต่อได้ที่ 0874727493 นะครับ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2



ให้นักศึกษาอ่าน     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550     แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ        
ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 71 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย
มาตรา 72 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
มาตรา 73 บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมวด 6 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาว่าสมาชิกภาพของคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้น สุดลง
ให้ประธานสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้น สิ้นสุดลงหรือไม่
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ให้ดำเนินการดังนี้
ให้จัดแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
แต่ละเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 10 คน
บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผุ้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อย กว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคเดียวติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4. ผู้สมัครแบบแบ่งเขตต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ด้วยคือ มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี / เกิดในจังหวัดที่สมัคร/ เคยศึกษาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี / เคยรับราชการหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร
ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา
กำหนดวันเลือกตั้งภายเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงนอกจากหมดวาระ หรือยุบสภา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งแทนภายใน 45 วัน เว้นแต่วาระเหลือไม่ถึง 180 วัน
แบบสัดส่วน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศผู้มีรายชื่อลำดับถัดไปในบัญชีของพรรคการ เมืองนั้นเลื่อนขึ้นมาแทน โดยต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 150 คน
มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน รวม 76 คน
มาจากการสรรหา รวม 74 คน
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสมัครหรือรับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภา
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันสมัครหรือวันเสนอชื่อ
3. สำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป นี้ด้วย คือ มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี / เกิดในจังหวัดที่สมัคร/เคยศึกษาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี เคยรับราชการหรือมีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี / ไม่เป็นบุพการี คู่สมรสหรือบุตรของผู้เป็น ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้
สมาชิกสภาพของสมาชิกวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้งหรือวันประกาศผลการสรรหา
*ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้****เมื่อวาระของสมาชิก วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง ให้มีการเลือกตั้งแทนภายใน 30 วัน ถ้ามีผู้มาจากการสรรหา ต้องดำเนินการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่วาระสิ้นสุด


2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
      มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
      ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
      การจัดการศึกษาอบขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวีตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
    มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
     การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามเเนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
(3) พัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฏหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทยมีระเบียบวินัย คำนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4)ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมนุมองค์การทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตราฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(5)ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่างๆและเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ

3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ       เช่นใน เรื่องสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
        องคมนตรี
ที่มา
พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย  
ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  
ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
จำนวน
ประธานองคมนตรี 1  คน  และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน  18  คน
หน้าที่
ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา  และความรู้เรื่องที่ควรจะรู้  เช่น
คณะองคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนคณะองคมนตรี รวมไม่เกิน 19 คน
      - คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงนโยบายที่จะดำเนินการต่อรัฐสภาและต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนิน การเสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง
      - สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน
แบบแบ่งเขต 400 คน
แบบสัดส่วน 80 คน
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตมีสมาชิกได้ 3 คน
      - บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
      - บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
      - ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร* ติดยาเสพติดให้โทษ ล้มละลายหรือเคยล้มละลาย เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยพ้นโทษมายังไม่เกิน 5 ปี เคยถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ พ้นจากการจากการเป็น สมาชิกวุฒิสภายังไม่เกิน 2 ปี
อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง หมดวาระเลือกตั้งภายใน 45 วัน

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย-เพราะ
ตอบ
 1. รัฐธรรมนูญมุ่งให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น
2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
 3. รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ
 4. ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
 5. ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

ตอบ     การทีรัฐบาลมีความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น  ก็เพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายข้อบังคับให้มีความเป็นธรรมและแก้เมื่อพบข้อบกพร่อง       ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แปลกที่จะมีประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ  เพราะประชาชนกลุ่มนี้ได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ   ประชาชนกลุ่มนี้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ต้องการให้คนที่ทำผิด โกงบ้านโกงเมืองกลับเข้ามายังประเทศ  เพราะประชาชนกลุ่มนี้มีความรักต่อชาติ  บ้านเมือง และพระมหากษัตริย์ และจะต้องแก้ไขด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม
รัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งใน สังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น
    แต่เราก็มิอาจที่จะปฏิเสธได้ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมเลย ทั้งนี้ เห็นได้จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศ หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทาง การเมืองการปกครองดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Design) จึงมีความสำคัญยิ่ง
    กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ
    พูดให้ชัดคือ ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้
    ที่ผ่านมา หลายท่านมักโต้แย้งว่า "ปัญหาปากท้องชาวบ้านสำคัญกว่า แก้ไขไปแล้วชาวบ้านก็ไม่ได้อะไร" ผู้เขียนเห็นว่า ข้อโต้แย้งแบบนี้ "ง่ายเกินไป" เพราะปัญหาทางการเมืองตลอดช่วงที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าเกิดจาก "ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง" รวมถึงความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย ดังที่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เคยทำรายงานสรุปจากที่ได้ทำงานในฐานะของประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) มาแล้วนั่นเอง
    "วาทกรรมว่าด้วยเรื่องปากท้อง" เพียงอย่างเดียว จึงไม่ค่อยมีน้ำหนักในทางกลับกัน กลับเป็นแนวทางที่มิได้เข้าไปมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ปัจจุบันอย่างจริงจังเสียด้วย
    ทั้งนี้ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนด รับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมได้ในระดับหนึ่ง หากเราไม่เข้าไปสำรวจตรวจสอบ หรือแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดของตัวบทกฎหมายดังกล่าวไปพร้อมๆ กับการแก้ไขปัญหาอื่นๆ แล้ว ความฝันในเรื่องของการทำให้สังคมไทยปรองดองกันได้ก็คงจะเป็นการยาก
     นอกจากนี้ ในแง่ "เงื่อนเวลา" ยังเหมาะสมเพราะประเทศอยู่ในสภาวะปกติ มิได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบเผด็จการ หรือการปกครองโดยทหาร เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย จึงเหมาะสมและไม่ขัดแย้งต่อหลักการแต่อย่างใดในการดำเนินกระบวนการแก้ไข เพิ่มเติมกติกาสูงสุดของสังคม
3.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง

   ปัญหาในเชิงหลักการที่สำคัญมากประการหนึ่งสำหรับรัฐธรรมนูญไทย (ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับก่อนๆ) ซึ่งไม่ค่อยที่จะมีการพูดถึงมากนักก็คือ รัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญ (Illegitimate Constitution) อันส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ปฏิบัติตาม หวงแหน   ประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการดำรงคงอยู่และความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญในสังคมด้วย     หากกล่าว ให้ถึงที่สุดก็คือ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะสถาปนากลไกที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตามที แต่หากยังคงขาดความชอบธรรมอยู่ ท้ายที่สุดจะถูกผู้คนในสังคมปฏิเสธการบังคับใช้อยู่ดี  นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญพึงต้องตระหนัก ทั้งนี้ ตัวชี้วัดความชอบธรรมตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ       มี 3 ประการ คือ
1."องค์ประกอบทางด้านรูปแบบของรัฐธรรมนูญ"
2."องค์ประกอบทางด้านเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ" 
3. "สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้จริง"

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

ตอบ  การปกครองประเทศที่มีการทำหน้าที่ทั้งอำนาจของทั้ง 3 อำนาจจะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง ไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะ  และเกิดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน  มีการแบ่งฝ่ายซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีความขัดแย้งกัน ซึ่งทำให้เมื่อมีการประชุมหรือวางข้อตกลงเกิดปัญหาบ่อยครั้งซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว  และในปัจจุบันนี้   อำนาจทั้ง 3 อำนาจกำลังประสบกับปัญหา  เรื่อง  การทุจริตเงินของรัฐ   การบริหารบ้านเมืองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ   ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะแก้ไขได้ยาก   หากผู้ที่ดำรงตำแหน่งไม่มีความสุจริต  เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนเอง  เอารัดเอาเปรียบประชาชน  ก็จะทำให้บ้านเมืองล้มจม  
ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างดุลยภาพ 
          เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาวางโครงสร้างให้สภาผู้แทนราษฎรมาจาก การเลือกตั้งและไปจัดตั้งรัฐบาลโดยใช้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงส่วนมากเป็นเกณฑ์ ทำให้สภาผู้แทน ราษฎรมีความเกี่ยวพันกับคณะรัฐมนตรีซึ่งทำหน้าที่ในฝ่ายบริหารอย่างชนิดเป็นเนื้อเดียวกัน แยกอย่างไร ก็แยกไม่ออก ตัดเท่าไรก็ตัดไม่ขาด ตลอดทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน จะให้สมาชิกสภามาจากไหน หากไม่มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหานี้อย่างถูกวิธี ย่อมไม่มีวันที่จะทำให้อำนาจนิติบัญญัติสร้างดุลถ่วงอำนาจบริหารได้     ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งควรที่จะบริหารประเทศอย่างสุจริต  ไม่โกงบ้านโกงเมือง  ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  ก็จะทำให้การบริหารบ้านเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น   ประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองขั้น 

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงใน
กิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

ตัวอย่าง เช่น

คำว่าจรรยาบรรณ นิยาม สิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามถ้าไม่ปฏิบัติผิดจรรยาบรรณ
บอกที่มา เช่น  ชื่อผู้แต่ง. (พ.ศ.). ชื่อหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.

1.คำว่า "ประนีประนอมยอมความ"  นิยาม สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน

2.คำว่า "บัญชีเดินสะพัด"  นิยาม สัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค

3.คำว่า "ผู้รับประกันภัย"  นิยาม คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

4.คำว่า "ใบสำคัญประจำตัวนิยาม หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าวซึ่งนายทะเบียนได้ออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้


5.คำว่า "ผู้รับพินัยกรรมนิยาม ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม 

6.คำว่า "บุตรบุญธรรมนิยาม เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 

7.คำว่า"เกษตรกรรม"  นิยาม การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงไหม เลี้ยงครั่ง เพาะเห็ด การประมง และเกษตรกรรม?อื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8.คำว่า "ผู้ค้าข้าวนิยาม บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวตามพระราชบัญญัตินี้

9.คำว่า "พระปรมาภิไธยนิยาม พระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลังจากทีได้มีพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว

10.คำว่า "รัฐนิยาม ประเทศไทย

11.คำว่า  "พระราชกฤษฎีกานิยาม เป็นกฎหมายลูกบทกล่าวคือมิได้เป็นกฎหมายแม่บทเป็นกฎหมายที่ออกมาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญติและพระราชกำหนด เช่นพระราชกฤษฎีกายุบสภา,พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งเป็นต้นที่ออกภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 

12.คำว่า "ทางพิเศษนิยาม ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ และหมายความรวมถึงทางซึ่งใช้สำหรับรถรางเดียวหรือรถใต้ดิน สะพาน อุโมงค์ เรือสำหรับขนส่งรถข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นลงรถ ทางเท้า ที่จอดรถ เขตทาง ไหล่ทาง เขื่อนกั้นน้ำ ท่อทางระบายน้ำ กำแพงกันดิน รั้วเขต หลักระยะสัญญาณจราจร เครื่องหมายจราจร และอาคารหรือสิ่งอื่น อันเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับงานทางพิเศษ


ที่มา:
        นิยามศัพท์กฎหมาย(ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.lawamendment.go.th/word_last1.asp[11 พฤศจิกายน 2555]




วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง


นาย อภิชาติ  ศรีสุวรรณ
รหัศนักศึกษา 5311103096
คณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

 ประวัติการศึกษา

อนุบาล 2 - มัธยมศึกษา 3         โรงเรียนดรุณศึกษา  อ.ร่อนพิบูลย์  จ.นครศรีฯ
มัธยมศึกษา 4 - มัธยมศึกษา 6  โรงเรียนชะอวด  อ.ชะอวด  จ.นครศรีฯ

ปรัชญา

เกิดเป็นคน  "ถึงทุกข์ ก็ต้องทน ถึงอับจน ก็ต้องสู้" 
เพราะเกิดเป็นคนก็รู้ๆกันอยู่   "ถ้าไม่สู้ไม่รู้จะเกิดมาทำไม"

ติดต่อได้ที่่

0874727493